บทที่ 8 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนจะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser) โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยสำหรับทุกคนที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime) ซึ่งการให้บริการการเรียนแบบออนไลน์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน แต่ละส่วนได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี เมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกัน แล้วระบบทั้งหมดจะต้องทำงานประสานกันได้อย่างลงตัว ดังนี้
เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนจะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser) โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยสำหรับทุกคนที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime) ซึ่งการให้บริการการเรียนแบบออนไลน์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน แต่ละส่วนได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี เมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกัน แล้วระบบทั้งหมดจะต้องทำงานประสานกันได้อย่างลงตัว ดังนี้
1) เนื้อหาของบทเรียน ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ
2) ระบบบริหารการเรียน ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน เราเรียกระบบนี้ว่า ระบบบริหารการเรียน (E-Learning Management System : LMS) ดังนั้น ระบบบริหารการเรียนจึงเป็นส่วนที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจนจบหลักสูตร
3) การติดต่อสื่อสาร นำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง มาใช้ประกอบในการเรียน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ประเภท Real-time ได้แก่ Chat (message, voice), White board/Text slide, Real-time Annotations, Interactive poll, Conferencing และอื่นๆ ส่วนอีกแบบคือ ประเภท Non real-time ได้แก่ Web-board, E-mail
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction - CAI)
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะเสนอสารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการสร้าง และพิจารณามาเป็นอย่างดี โดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ แบบฝึกหัด การทดสอบ และการให้ข้อมูลป้อนกลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามารถของตนเอง เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรูปมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย อักษร รูปภาพ เสียง และหรือ ทั้งภาพและเสียง โดยมีจุดมุ่งหมายนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาศัยการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และมีผลย้อนกลับทันทีและเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสม ตามความต้องการและความสามารถของตน
วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand - VOD)
การจัดการฐานข้อมูลต้องอาศัยโปรแกรมที่ทำหน้าที่ ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล อำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้ได้แบบใด เช่น ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียวหรือให้แก้ไขข้อมูลได้ด้วย นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล การแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ตลอดจนการจัดทำข้อมูลสำรองด้วย โดยอาศัยโปรแกรมที่เรียกว่า ระบบการจัดการฐานข้อมูล(Database Management System: DBMS) ซึ่งโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในการจัดการฐานข้อมูล ได้แก่ Microsoft Access, Oracle, Informix, dBase, FoxPro, และ Paradox เป็นต้น
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books )
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books )
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้ทางอินเทอร์เน็ต สำหรับเครื่องมือที่จำเป็นต้องมีในการอ่านหนังสือประเภทนี้ก็คือ ฮาร์ดแวร์ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ พร้อมทั้งติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านข้อความต่างๆ ตัวอย่างเช่น ออแกไนเซอร์แบบพกพา พีดีเอ เป็นต้น ส่วนการดึงข้อมูล E-books ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่าน ก็จะใช้วิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะไฟล์ของ E-books หากนักเขียนหรือสำนักพิมพ์ต้องการสร้าง E-books จะสามารถเลือกได้สี่รูปแบบ คือ Hyper Text Markup Language (HTML), Portable Document Format (PDF), Peanut Markup Language (PML) และ Extensive Markup Language (XML)
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library)
บริการงานห้องสมุดระบบอัตโนมัติ เช่น
1) ระบบที่สามารถให้บริการและตรวจสอบได้
2) ระบบบริการยืม - คืน ทรัพยากรด้วยแถบรหัสบาร์โค้ด
3) ระบบบริการสืบค้นข้อมูลทรัพยากร
4) ระบบตรวจเช็คสถิติการใช้บริการห้องสมุด
5) ระบบตรวจเช็คสถิติการยืม - คืนทรัพยากร
6) การสำรวจทรัพยากรประจำปี
7) การพิมพ์บาร์โค้ดทรัพยากรและสมาชิก
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาธุรกิจ พาณิชย์และสำนักงาน
E-commerce: Electronic Commerce
E-commerce หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรรมในเชิงธุรกิจทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมทั้งการซื้อขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งสินค้า การชำระเงิน และการบริการด้านข้อมูล เป็นต้น E-commerce นั้นสามารถให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว และไม่จำกัดขอบเขตของผู้ใช้บริการและระยะเวลาทำการของหน่วยงาน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือหลัก ในการปฏิบัติงานและติดต่อสื่อสารข้อมูล ใน E-commerce สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของเรา ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อเคเบิลทีวี เครื่องโทรสาร โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่อง ATM ระบบการชำระเงินและโอนเงินอัตโนมัติ รวมทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
E-business
E-business เป็นธุรกิจเชิงอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างกว่า E-commerce เนื่องจากเป็นการพิจารณาถึงองค์ประกอบทุกส่วนของการดำเนินธุรกิจ มิได้พิจารณาเพียงเฉพาะกิจกรรมการซื้อ-ขายเท่านั้น เป็นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ และปรับปรุงธุรกิจให้มีความเป็นระบบ สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มศักยภาพของธุรกิจด้วยการดำเนินธุรกิจให้กลายเป็นรูปแบบ Online และครอบคลุมได้ทั่วโลก
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI)
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDI เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการรับ - ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย เช่น โทรศัพท์ สายเคเบิล ดาวเทียม เป็นต้น แทนการส่งเอกสารโดยพนักงานส่งสารหรือไปรษณีย์ ระบบ EDI จะต้องใช้รูปแบบของเอกสารที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้หน่วยงานทางธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับมาตรฐานของ EDI ในประเทศไทยถูกกำหนดโดยกรมศุลกากร ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่นำระบบนี้มาใช้งาน คือ มาตรฐาน EDIFACT (Electronic Data Interchange for Administration, Commerce and Transport) ตัวอย่างของเอกสารที่นำมาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยระบบ EDI เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบเสนอราคา ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี เป็นต้น
ประโยชน์ของการใช้ระบบ EDI
ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดส่งเอกสาร
ลดเวลาทำงานในการป้อนข้อมูล ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง และลดข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลที่ซ้ำซ้อน
เพิ่มความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร
ลดค่าใช้จ่ายและภาระงานด้านเอกสาร
แก้ปัญหาอุปสรรคทางภูมิศาสตร์และเวลา
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานบังเกิดผลในด้านบวก อาทิ ความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้อง และสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีดอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เทเลเท็กซ์ เครื่องเขียนตามคำบอกอัตโนมัติ (Dictating Machines) เครื่องอ่านและบันทึกวัสดุย่อส่วน เครื่องถ่ายเอกสารแบบหน่วยความจำ เครื่องโทรสาร ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้ นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงาน ดังนั้นการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในระบบสำนักงาน จึงเรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งเทคโนโลยีดังที่กล่าวมานำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ เช่น งานจัดเตรียมเอกสาร งานกระจายเอกสาร งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาอุตสาหกรรมและการผลิต
โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System-MIS) เข้ามาช่วยจัดการงานด้านการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ ในโรงงาน ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรมเช่น อุตสาหกรรมการพิมพ์ อุตสาหกรรมประเภทนี้ ใช้ระบบการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) ในการจัดเตรียมต้นฉบับ วิดีโอเท็กซ์ วัสดุย่อส่วน และเทเลเท็กซ์ได้ รวมทั้งการพิมพ์ภาพโดยใช้เทอร์มินัลนำเสนอภาพ (Visual Display Terminal) ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ มีการใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบรถยนต์ ปฏิบัติการการผลิต (เช่น การพ่นสี การเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ฯลฯ) การขับเคลื่อน การบริการ และการขาย รวมทั้งออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานในโรงงานได้ในรูปแบบหุ่นยนต์
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาสาธารณสุขและการแพทย์
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาสาธารณสุขและการแพทย์
งานด้านสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ระบบบริหารได้นำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วย การสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย การให้คำปรึกษาทางไกลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้าหรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสารหรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้ ส่วนด้านให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล ด้วยระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เป็นต้น
ระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
ระบบแพทย์ทางไกลเป็นการนำเอาความก้าวหน้า ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานทางการแพทย์ โดยการส่งสัญญาณผ่านสื่อซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณดาวเทียม (Satellite) หรือใยแก้วนำแสง (Fiber optic) แล้วแต่กรณีควบคู่ไปกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลคนไข้ระหว่างกันได้
ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล (Medical Consultation)
เป็นระบบการปรึกษาระหว่างโรงพยาบาลกับโรงพยาบาล (One to One) ซึ่งจะสามารถใช้งานพร้อมๆ กันได้ เช่น ในขณะที่โรงพยาบาลที่ 1 ปรึกษากับโรงพยาบาล ที่ 2 อยู่ โรงพยาบาลที่ 3 สามารถขอคำปรึกษาจากโรงพยาบาลที่ 4 และโรงพยาบาลที่ 5 สามารถขอคำปรึกษาจาก โรงพยาบาลที่ 6 ได้ ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล ประกอบด้วยระบบย่อยๆ 3 ระบบดังนี้คือ
1) ระบบ Teleradiology เป็นระบบการรับส่งภาพ X-Ray โดยผ่านการ Scan Film จาก High Resolution Scanner เพื่อเก็บลงใน File ของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะมีการส่ง File ดังกล่าวไปยังโรงพยาบาลที่จะให้คำปรึกษา
2) ระบบ Telecardiology เป็นระบบการรับส่งคลื่นหัวใจ (ECG) และเสียงปอด เสียงหัวใจ โดยผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อมายังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
3) ระบบ Telepathology เป็นระบบรับส่งภาพจากกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) ซึ่งอาจจะเป็นภาพเนื้อเยื่อ หรือภาพใดๆ ก็ได้จากกล้องจุลทรรศน์ทั้งชนิด Monocular และ Binocular ระบบนี้เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อกับกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในโรงพยาบาลต่างๆ อยู่แล้ว
ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลและโทรศัพท์ (Data and Voice Network)
ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลเป็นระบบการใช้งานเชื่อมต่อจากโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งเป็นจุดติดตั้งของโครงการฯ มายังสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถใช้บริการทางด้านเครือข่ายข้อมูลต่างๆ คือระบบ Internet ระบบ CD-ROM Server ระบบ ฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข
ส่วนระะบบ CD-ROM Server เป็นระบบที่ให้บริการฐานข้อมูลทางการแพทย์จำนวน 5 ฐานข้อมูล ได้แก่ ฐานข้อมูล Medline Standard ฐานข้อมูล Drugs and Pharmacology ฐานข้อมูล Nursing ฐานข้อมูล Health Planning และฐานข้อมูล Excerpta Medica จำนวน 3 modules ได้แก่ Cardiology, Gestro Intestinal, Nephrology
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคม
การประยุกต์ใช้ในงานประเภทนี้ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (ISDN) เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคมที่น่าสนใจ ได้แก่เทคโนโลยีต่างๆ ดังนี้
ดาวเทียม (Satellite) เป็นสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น แล้วส่งไปโคจรรอบโลก รอบดาวเคราะห์ต่างๆ ดาวฤกษ์ต่างๆ หรือเพื่อให้ท่องเที่ยวไปในอวกาศและจักรวาลตามวิถีที่ได้มีการกำหนดไว้ก่อน ดาวเทียม จำแนกได้หลายประเภทซึ่งขึ้นกับลักษณะการใช้งานเช่น ดาวเทียมวิทยาศาสตร์ (Scientific Satellite) ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานค้นคว้าวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ ดาวเทียมการทหาร (Military Satellite) แบ่งเป็นประเภทย่อยได้ เช่น ดาวเทียมจารกรรม ดาวเทียมเตือนภัยล่วงหน้า ดาวเทียมต่อต้านจรวด และดาวเทียมจู่โจมหรือระดมยิง เป็นต้น ดาวเทียมนำทาง (Navigational Satellite) ดาวเทียมประเภทนี้ใช้ประโยชน์มากในเรือดำน้ำ การวางแผนเส้นทางเดินเรือและเส้นทางการบิน ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรบนผิวโลกและในมหาสมุทร (Earth and Ocean Resources Satellite) มีจุดประสงค์เพื่อใช้ศึกษาธรณีวิทยา พืชพรรณ ตลอดจนมหาสมุทร และดาวเทียมโทรคมนาคม (Telecommunication Satellite) ใช้ในกิจการการสื่อสารในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ
โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Netwonk- ISDN) ระบบ ISDN หรือที่เรียกว่า Integrated Service Digital Netwonk ซึ่งเป็นระบบที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย นำมาใช้เพื่อให้บริการส่งข้อมูลในลักษณะโครงข่าย ISDN โดยเป็นโครงข่ายโทรคมนคมความเร็วสูงในระบบดิจิทัลที่สามารถส่งทั้งสัญญาณ เสียง และข้อมูลต่างๆ ร่วมไปในสายเส้นเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน (PSTN) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่น (Private Network) เพื่อติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ
โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Netwonk- ISDN) ระบบ ISDN หรือที่เรียกว่า Integrated Service Digital Netwonk ซึ่งเป็นระบบที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย นำมาใช้เพื่อให้บริการส่งข้อมูลในลักษณะโครงข่าย ISDN โดยเป็นโครงข่ายโทรคมนคมความเร็วสูงในระบบดิจิทัลที่สามารถส่งทั้งสัญญาณ เสียง และข้อมูลต่างๆ ร่วมไปในสายเส้นเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน (PSTN) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่น (Private Network) เพื่อติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ
โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Netwonk- ISDN) ระบบ ISDN หรือที่เรียกว่า Integrated Service Digital Netwonk ซึ่งเป็นระบบที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนำมาใช้เพื่อให้บริการส่งข้อมูลในลักษณะโครงข่าย ISDN โดยเป็นโครงข่ายโทรคมนคมความเร็วสูงในระบบดิจิทัลที่สามารถส่งทั้งสัญญาณ เสียง และข้อมูลต่างๆ ร่วมไปในสายเส้นเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน (PSTN) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่น (Private Network) เพื่อติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ
เนื่องจากระบบ ISDN เป็นแบบดิจิทัลทั้งหมด ตลอดปลายทาง ไม่ต้องมีการแปลงสัญญาณ ทำให้ความเพี้ยนของสัญญาณมีน้อยมาก ตลอดจนสิ่งรบกวน(Noise) ก็จะลดน้อยลงด้วยทำให้ข้อมูลข่าวสารที่รับส่งในโครงข่าย ISDN มีความถูกต้อง ไว้วางใจได้สูงกว่าระบบเดิม ความเร็วในการรับส่ง 64 Kbps ต่อวงจร ทำให้สามารถรับส่งสัญญาณเสียง ข้อมูล ภาพ ตัวอักษร ในปริมาณมากและรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม
สำหรับการบริการของระบบ ISDN ในปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นนอกจากการส่งข้อมูลเสียงแล้ว ยังบริการข้อมูลอื่นๆ อีก อาทิ ระบบโทรศัพท์แบบใหม่ซึ่งสามารถแสดงหมายเลขโทรศัพท์ ชื่อ ตลอดจนที่อยู่ของผู้ที่เรียกมา และระบบโทรศัพท์ที่สามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถแสดงข้อมูลของผู้ที่เรียกเข้ามาได้ นอกจากนี้ระบบ ISDN ยังช่วยให้มีการติดต่อเพื่อพูดคุยพร้อมกันหลายๆ สายได้ อีกทั้งมีระบบไปรษณีย์เสียง (voice mail) กล่าวคือ หากผู้ที่โทรเรียกไปพบว่าสายไม่ว่างหรือไม่มีผู้รับก็อาจจะทิ้งข้อความไว้ และเมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบ ข้อความที่ฝากไว้ก็จะถูกถ่ายทอดให้แก่ผู้นั้นได้ทันที นอกจากนี้ยังมีการบริการให้แก่โรงแรมต่างๆ ในการปลุกผู้เข้าพักโดยอัตโนมัติอีกด้วย
โทรสาร (Facsimile) โทรสารหรือแฟ็กซ์ (Fax) เป็นวิวัฒนาการด้านอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อส่งผ่านสารสนเทศจากต้นแหล่งไปยังผู้รับปลายทาง โดยใช้ความเร็วในการส่งข้อมูลสูง ระบบการทำงานของเครื่องโทรสารเป็นกระบวนการที่เครื่องส่งฉายแสงไปที่เอกสาร รูปถ่าย ภาพเขียน หรือสัญลักษณ์ต่างๆ อันเป็นต้นฉบับ เพื่อเปลี่ยนภาพหรืออักษรเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วส่งไปตามช่องทางคมนาคมต่างๆ อาทิ ไมโครเวฟ สายโทรศัพท์ เครื่องส่งวิทยุ เมื่อเครื่องรับปลายทางได้รับสัญญาณดังกล่าว ก็จะเปลี่ยนสัญญาณนั้นให้ปรากฏเป็นภาพหรือข้อความตรงตามต้นฉบับ
โทรภาพสาร (Teletext) โทรภาพสารหรือเทเลเท็กซ์เป็นระบบรับ-ส่งสารสนเทศผ่านคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ส่งออกอากาศได้ในเวลาเดียวกันกับที่มีการออกอากาศรายการโทรทัศน์ตามปรกติ สารสนเทศจะถูกส่งออกอากาศเป็นหน้าๆ เหมือนหน้าหนังสือทั่วไป ผู้ชมสามารถใช้การควบคุมระยะไกล (Remote Control) เรียกสารสนเทศนั้นออกมาดูได้ตามต้องการ หรือเลือกดูเฉพาะข้อความที่ต้องการและหยุดดูได้นานตามต้องการ ไม่ต้องรอดูตั้งแต่หน้าแรก และยังสามารถรับชมรายการโทรทัศน์ได้ตามปกติ ผู้ที่มีเครื่องรับธรรมดาจะรับสารสนเทศทางเทเลเท็กซ์ได้ด้วยการติดตั้งแผ่นวงจรพิเศษ กับเครื่องรับโทรทัศน์
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail : E-mail) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นทางเลือกขั้นต้น ในการให้บริการจดหมายทางไปรษณีย์โดยอัตโนมัติ แนวความคิดเกี่ยวกับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมถึงเรื่อง Broad Spectrum ด้วย กล่าวคือสารจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าแล้วจึงถูกส่งออกไป ดังนั้น กระบวนการของระบบจึงเป็นลักษณะเดียวกับระบบโทรสาร
ข้อมูลนำเข้าและข้อมูลผลลัพธ์จากระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ อาจปรากฏในรูปของ Video Terminal, Word Processor, โทรสาร, Data Terminal Computer Vision และระบบการสื่อสารด้วยเสียง การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องอาศัยข่ายงานโทรคมนาคม ไปรษณีย์ อิเล็คทรอนิกส์ที่มีข้อความสำคัญและประสงค์การส่งอย่างรวดเร็ว อาจกระทำได้โดยส่งผ่านออกไปในรูปแบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผ่านข่ายงานข้อมูลที่เรียกว่า Computerize Switching System
การประชุมทางไกล (Teleconference) เป็นรูปแบบการสื่อสารหรือการประชุมระหว่างคนหลายๆ คน โดยไม่ต้องอยู่ต่อหน้ากัน และใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นกลไกสำคัญในการสื่อสาร การประชุมทางไกลมี 3 วิธีการ คือ 1) การประชุมทางไกลด้วยเสียงและภาพ 2) การประชุมทางไกลด้วยเสียง 3) การประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์ จะใช้คอมพิวเตอร์ส่งสาระของการประชุมระหว่างกัน ผ่านระบบออนไลน์
การประชุมทางไกล (Teleconference) เป็นรูปแบบการสื่อสารหรือการประชุมระหว่างคนหลายๆ คน โดยไม่ต้องอยู่ต่อหน้ากัน และใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นกลไกสำคัญในการสื่อสาร การประชุมทางไกลมี 3 วิธีการ คือ 1) การประชุมทางไกลด้วยเสียงและภาพ 2) การประชุมทางไกลด้วยเสียง 3) การประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์ จะใช้คอมพิวเตอร์ส่งสาระของการประชุมระหว่างกัน ผ่านระบบออนไลน์
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานราชการต่างๆ
สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Technology Services - GITS) ลักษณะงานของสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ จะให้บริการเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network) เพื่อตอบสนองการบริหารงานสำหรับหน่วยงานของภาครัฐอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูง ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน อันนำไปสู่การเป็น E-government และเป็นศูนย์กลางส่งเสริมให้เกิดระบบการเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างภาครัฐและประชาชน
สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation - OA) สำนักงานอัตโนมัติที่หน่วยงานของรัฐจัดทำขึ้นมีชื่อว่า IT Model Office เป็นโครงการนำร่องที่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายพื้นฐานของภาครัฐ ในรูปของสำนักงานอัตโนมัติ เช่น งานสารบรรณ งานจัดทำเอกสารและจัดส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ งานแฟ้มเอกสาร งานบันทึกการนัดหมายผู้บริหาร ซึ่งระบบงานที่สำคัญมีดังนี้คือ
ระบบนำเสนอข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้บริหาร
ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัย ได้มีการนำเทคโนโลยีลายเซ็นต์ดิจิทัล (Digital signature) เข้ามาช่วยในการยืนยันผู้ส่งและยืนยันความแท้จริงของอีเมล
อินเทอร์เน็ตตำบล เป็นการวางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ตำบลต่างๆ ทั่วประเทศสามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านต่างๆ เช่น หน่วยงานของรัฐ และองค์กรต่างๆ สามารถมีส่วนร่วมในการจัดทำและใช้ประโยชน์จากระบบอินเทอร์เน็ตตำบล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานที่อยู่ ณ ตำบลและใกล้ชิดกับประชาชน ก็จะมีความสำคัญและความรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูล รวมทั้งให้บริการแก่กลุ่มชนต่างๆ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสรรพกร เนื่องจากกรมสรรพากรทำหน้าที่เป็นเหมือนแหล่งรายได้ของรัฐบาล รายได้จากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรมีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจำต้องให้ความสำคัญกับระบบการจัดเก็บ ข้อมูลและประวัติของผู้เสียภาษีอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังต้องการข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์เพื่อทำ Macro Model หรือแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ให้กับประเทศอีกด้วย ปัจจุบันกรมสรรพกรได้จัดทำโครงการ E-revenue ซึ่งเป็นบริการเสียภาษีออนไลน์ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์ด้านการพาณิชย์ มีบริการโปรแกรมประการยื่นแบบ บริการแบบพิมพ์ บริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งอำนวยความสะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้นต่อประชาชนผู้ใช้บริการ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาด้านความมั่นคงของชาติและทางทหาร
ด้านกฎหมายและการปกครอง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสรุปคดีทุกคดีว่าใครฟ้องใคร เรื่องอะไร ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ตัดสินว่าอย่างไร เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะช่วยงานได้หลายอย่าง เช่น ต้องการทราบว่ารัฐธรรมนูญฉบับไหนเหมือนหรือแตกต่างกับฉบับไหนมากน้อยเท่าใด ก็ให้คอมพิวเตอร์ค้นหา และวิเคราะห์เปรียบเทียบพิมพ์ลงได้ หรือต้องการทราบว่าคดีแบบไหนเคยมีฟ้องร้องแล้วศาลตัดสินอย่างไร ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยหาให้ก็จะได้คำตอบภายในเวลาไม่กี่นาที
ด้านรัฐสภา เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุน และการดำเนินบทบาทด้านการพัฒนาประชาธิปไตยเป็นอย่างมากต่องานรัฐสภา ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านนิติบัญญัติ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รัฐสภาได้มีการปรับปรุงระบบงานใหม่ พร้อมดึงเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในกิจการงานสภา ศึกษาวิเคราะห์ระบบงานรัฐสภาทั้งหมดและจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ ขึ้นมากำกับดูแลงานด้านคอมพิวเตอร์ พร้อมพัฒนาฐานข้อมูลรัฐสภาขึ้นระหว่างปีพ.ศ. 2535-2540
ด้านการทหารและกองบัญชาการทหารสูงสุด การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการทหารแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
ด้านการสื่อสาร และภูมิศาสตร์
มีการนำดาวเทียมทหารมาใช้เพื่อกิจการด้านความมั่นคงทางทหาร เพราะสามารถส่งข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นความลับเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะด้านการทหารซึ่งไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้
การถ่ายภาพภูมิศาสตร์ จำลองลักษณะภูมิศาสตร์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อความสะดวก ในการจัดทำยุทธภูมิและการวางแผนป้องกันประเทศ
การถ่ายภาพภูมิศาสตร์และใช้เทคโนโลยีหาพิกัดภูมิศาสตร์และจัดเก็บข้อมูล (www.vtt.fi/tte/projects/WAMPPI/results.text.html)
ด้านอาวุธ และอุปกรณ์การรักษาความมั่นคงของประเทศ
ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการประดิษฐ์อาวุธที่ทันสมัย สามารถกำหนดพิกัดการยิงโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในการคำนวณระยะทาง และวิถีการตกของระเบิดได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
ทางด้านการทหารได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับเครื่องตรวจจับ อาวุธสงคราม รวมถึงเครื่องบินที่รุกล้ำเข้ามาใน เขตน่านฟ้าของประเทศไทย
มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลด้านความปลอดภัย เกี่ยวกับข้อมูลผู้ไม่ประสงค์ดี มาสร้างเป็น แบบจำลองการป้องกันประเทศ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาบันเทิง
ยุคของสังคมสารสนเทศที่มีลักษณะการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงทำให้เกิด อีซีนีม่า (E-cinema) กิจกรรมต่างๆ สำหรับสมาชิกที่เข้ามาใช้ อีซีนีม่า คือ เปิดออนไลน์ บุ๊คกิ้งมีการเปิดให้จองตั๋วและเลือกที่นั่งทางเว็บไซต์ ลูกค้าสามารถจ่ายเงินในเว็บได้เลยโดยผ่านบัตรเครดิต ธุรกิจด้านอีซีนีม่านี้นับได้ว่ามีประโยชน์มหาศาล เพราะทางเจ้าของกิจการได้มีการบอกข่าวสารบางอย่างที่ลูกค้าไม่รู้ทุกอย่างรวมอยู่ในเว็บ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในเชิงธุรกิจ ทั้งได้รับการตอบรับสูงจากลูกค้า ของการเปิดจองทั้งระบบ ซึ่งปัจจุบันบริการทั้งระบบโทรศัพท์และระบบออนไลน์